Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/448
Title: | การศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ของธุรกิจคลินิกให้บริการอยู่ไฟแม่หลังคลอด "Matherapy+" |
Authors: | ตีศม โพธิ์งาม |
Keywords: | Entrepreneurship and Innovation ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม ธุรกิจ คลินิก Matherapy+ หลังคลอด |
Issue Date: | 20-May-2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2557 |
Abstract: | Matherapy+ เป็นสถานพยาบาลแพทย์แผนไทยประยุกต์สำหรับสตรีหลังคลอด ที่ต้องการใช้บริการอยู่ไฟหลังเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ ให้กลับมามีสุขภาพแข็งแรงและคืนสภาพปกติได้เร็วขึ้น โดยมีรูปแบบการให้บริการเป็นสถานพยาบาลไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (Clinic) และรับให้บริการที่บ้านพักอาศัย (Delivery) นอกจากยังให้ความรู้ และคำปรึกษาในการดูแลตนเองสำหรับคุณแม่หลังคลอด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์อีกด้วย จากการศึกษาขนาดของตลาดพบว่า อัตราการคลอดบุตรในกรุงเทพฯมีจำนวนเฉลี่ยถึงหนึ่งแสนคนต่อปี สะท้อนให้เห็นขนาดของตลาด และจำนวนกลุ่มเป้าหมายในอนาคต จากผลการสำรวจเบื้องต้นถึงความต้องการใช้บริการการอยู่ไฟประกอบกับแนวโน้มความสนใจในการรักษาแบบธรรมชาติบำบัดนั้นมีเพิ่มขึ้น พบว่าจะมีผู้ต้องการใช้บริการอยู่ไฟในแต่ละปี 29,210 รายต่อปี ซึ่งมีมูลค่าของตลาดกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ในการเริ่มต้นธุรกิจ Matherapy+ จะมุ่งเน้นกลุ่มสตรีหลังคลอดที่อาศัยอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯ และ เขตปริมณฑล โดย Matherapy+ได้ออกแบบธุรกิจให้มีมาตรฐานทั้งด้านกระบวนการรักษา บุคลากร อุปกรณ์ และ สถานที่ เพื่อตอบสนองความต้องการ และมอบคุณค่าที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า โดยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักด้วยการมุ่งเน้นการทำการตลาดเชิงบูรณาการผ่านสื่อต่างๆที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึง และการจัดกิจกรรมแนะนำบริการในงานแสดงสินค้าแม่และเด็ก Matherapy+ เป็นผู้ให้บริการดูแลแม่หลังคลอดที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีราคากลาง – สูง เพื่อสร้างความตระหนักให้ควบคู่กับมาตรฐานของการให้บริการ โดยการเลือกที่จะจับตลาดลูกค้ากลุ่มชนชั้นกลางถึงสูง โดยทางบริษัทฯนั้น เลือกใช้ บุคลากร อุปกรณ์ และ ขบวนการที่มีคุณภาพดีที่สุดของตลาด ซึ่งตรงตามความต้องการของลูกค้าในด้านมาตรฐานการให้บริการที่เทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำในตลาด รูปแบบการให้บริการนั้นจะมีทั้งรูปแบบคลินิก และ ให้บริการแบบเดลิเวอรี่ยังที่พักอาศัยของลูกค้าในกรณีที่ไม่สะดวก ซึ่งช่วยเพิ่มช่องทางในการให้บริการลูกค้า และ การมีหน้าร้านที่เป็นคลินิกเพื่อแสดงถึงความมีมาตรฐานการบริการ และ เพิ่มความเชื่อมั่นมากขึ้นอีกด้วย |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/448 |
Other Identifiers: | TP EM.020 2557 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.020 2557.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.