Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4568
Title: กลยุทธ์การป้องกันการทุจริตของพนักงานสาขาในธุรกิจธนาคาร
Other Titles: FRAUD PREVENTION STRATEGIES FOR BANKING TELLERS
Authors: อมรชัย, นำผล
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
การทุจริต
ความโปร่งใส
สถาบันการเงิน
Issue Date: 22-Oct-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยของพนักงานสาขาในธุรกิจธนาคาร เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการสร้างความมั่นใจและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันพฤติกรรมการทุจริตของพนักงานสาขาที่จะสร้างความเสียหายให้กับธนาคาร โดยการวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีประสบการณ์ในการพิจารณากรณีการทุจริตของ พนักงานสาขาในธุรกิจธนาคารทั้งหมด 19 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการทุจริตต่อธนาคารที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การโอนเงินลอยหรือฝากเงินลอยเข้าบัญชีโดยไม่มีตัวเงินจริง รองลงมาเป็นการลักเงินเกินจากการสรุปยอด ณ สิ้นวัน ส่วนรูปแบบการทุจริตต่อลูกค้าที่พบได้บ่อยสุด คือ การแอบถอนเงินจากบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวมานานและบัญชีฝากประจำ รองลงมาเป็นการแอบยกเลิกรายการฝากเงินหรือชำระเงิน (Error Collection) โดยปัจจัยที่ทำให้พนักงานกระทำการทุจริต มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เกิดจากแรงกดดันจากปัญหาการเงินและผลงาน 2) เกิดจากโอกาสและช่องโหว่ทที่เอื้อต่อการทุจริต เช่น ความไว้วางใจของลูกค้าหรือหัวหน้างานที่มีต่อตัวพนักงาน รวมไปถึงระบบโปรแกรมในการทำงานที่ขัดข้อง 3) เกิดจากการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเช่น การรู้สึกว่าธนาคารปฏิบัติกับตนไม่เป็นธรรมจึงต้องทุจริตคืนเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดในใจ ซึ่งปัจจัยในการทุจริตทั้ง 3 องค์ประกอบอาจมีปฏิสัมพันธ์กันในการลงมือกระทำการทุจริต ทางด้านกลยุทธ์ในการป้องกันการทุจริตของพนักงานสาขาในธุรกิจธนาคาร แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ กลยุทธ์ที่เน้นก่อนการ ทุจริตและกลยุทธ์ที่เน้นให้เกิดขึ้นในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยกลยุทธ์ที่เน้นก่อนการทุจริต แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางกฎระเบียบและนโยบายให้รัดกุมห้ามให้พนักงานคนเดียวทำหน้าที่ หลายหน้าที่อย่างเบ็ดเสร็จ มีลงโทษอย่างเด็ดขาดกับผู้บริหารสาขาในเรื่องความบกพร่องในการตรวจรายงานประจำวัน และการรักษารหัสรับรองรายการ ควรมีการให้รางวัลสำหรับพนักงานที่แจ้งเบาะแสจากพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานที่ส่อไปในทางทุจริต, 2) การป้องกันด้วยการจัดสถานที่ในสาขาให้อยู่ในที่โล่งแจ้ง กล้องวงจรปิดควรมีความละเอียดสูง สามารถเห็นบรรยากาศภายในสาขาได้ อย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม, 3) การสร้างวัฒนธรรมย่อยในสาขา ผู้จัดการสาขาต้องทำให้พนักงานในสาขาเข้าถึงได้ ปรึกษาพูดคุยได้ทุกเรื่องทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องครอบครัวและเรื่องปัญหาการทำงาน, 4) การเพิ่มศักยภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ธนาคารต้องพิจารณาเรื่องค่าตอบแทนให้สัมพันธ์กับค่าครองชีพในปัจจุบันและควรเพิ่มการจัดการอบรมเรื่องจริยธรรมให้แก่พนักงาน, 5) การควบคุมการใช้รหัสรับรองรายการ โดยการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงาน เช่น การสร้าง Application ไว้ให้พนักงานระดับสูงรับรองรายการนอกสถานที,หรือการใส่รหัสพร้อมกับการแตะบัตรพนักงานและการสแกนใบหน้า รวมทั้งจัดตั้งหน่วยงาน Central Authorize ที่ทำหน้าที่อนุมัติรายการที่มีความเสี่ยงแทน ในส่วน กลยุทธ์ที่เน้นให้เกิดขึ้นในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การใช้ระบบโปรแกรมและระบบการแจ้งเตือน โดยมีระบบแจ้งเตือนแบบ Realtime ไปยังลูกค้า รวมไปถึงมีระบบทีมงานที่ทำหน้าที่ Monitoring ในการตรวจจับธุรกรรมจากพนักงานสาขา 2) การใช้ผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มการ Surprise Check จากฝ่ายตรวจสอบภายใน
Description: 133 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4568
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.073 2564 (1).pdf4.99 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.