Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4753
Title: ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อขยะอาหาร: บทบาทความรู้สึกผิดของผู้บริโภค
Other Titles: ATTITUDE AND BEHAVIOR ON FOOD WASTE: AN APOLOGETIC ROLE OF CONSUMER
Authors: พัชรินทร์, องค์วงศฺสกุล
Keywords: การจัดการธุรกิจอาหาร
ขยะอาหาร
พฤติกรรมในการทานอาหารหมดจาน
ความต้องการ
Issue Date: 16-Dec-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติและความรู้สึกผิดที่มีต่อการทำให้มีปริมาณขยะอาหาร เพิ่มมากขึ้นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการทานอาหารหมดจาน 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและความรู้สึกผิดที่มีต่อการทำให้มี ปริมาณขยะอาหารเพิ่มมากขึ้นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความ ต้องการที่จะแพ็คอาหารกลับ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติและ ความรู้สึกผิดที่มีต่อการทำให้มีปริมาณขยะอาหารเพิ่มมากขึ้นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านขนาดมื้ออาหารที่จะสั่งต่อครั้ง การ วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างหรือประชากรได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคกลางและกรุงเทพ ไม่จำกัด เพศ อายุตั้งแต่ 18-41 ปี ขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 457 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวม ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติและร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ด้วยการแจกแจงความถี่ แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติ ซึ่งจะวิเคราะห์ผลเป็น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามกับมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวนผล ของแบบสอบถาม คือ โปรแกรม IBM SPSS Statistic ผลการวิจัยพบว่า ทัศคติ และความรู้สึกผิด ที่มีต่อการทำให้ปริมาณอาหารขยะเพิ่มมากขึ้น ผลการวิเคราะห์ ค้นพบว่า ทัศนคติ และความรู้สึกผิด ส่งผลทำให้ พฤติกรรมในการทานอาหารหมดจานและ พฤติกรรมในการแพ็คอาหาร กลับ เพิ่มมมากขึ้น ประชาชนมีพฤติกรรมในการแพ็คอาหารกลับ และ พฤติกรรมในการทานอาหารหมดจาน ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ทัศนคติและความรู้สึกผิด ไม่สามารถส่งผลทำให้พฤติกรรมด้านขนาดมื้ออาหารที่จะสั่งต่อครั้ง เพิ่มมากขึ้นได้ ทาง ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์ว่า ที่ทัศนคติไม่ส่งผลเพราะว่า พฤติกรรมด้านนขนาดมื้ออาหารที่จะสั่งต่อครั้ง เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ภายนอกที่อยู่เหนือความควบคุมของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น ภาพลักษณ์ของสังคม, รักษารูปร่างเพื่อเป็นที่ชื่นชมในสังคม , ปริมาณการเสิร์ฟอาหารของร้านอาหาร และโรคระบาดโคโรนาไวรัส
Description: 70 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4753
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FB.008 2565.pdf126.25 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.