Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4806
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ศิริสุข รักถิ่น | - |
dc.contributor.author | ณิชมน, ปิ่นมณีนพรัตน์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-01-20T04:47:48Z | - |
dc.date.available | 2023-01-20T04:47:48Z | - |
dc.date.issued | 2565-09-24 | - |
dc.identifier.other | TP MS.026 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4806 | - |
dc.description | 114 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันผู้คนให้ความใส่ใจในเรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาด โควิด -19 ที่ผ่านมา รวมทั้งกระแสนิยมอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้คนยิ่งเล็งเห็นความสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ซึ่งปัจจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการดำเนินชีวิตมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 227 คน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรกำกับ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐาน จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน จะมีความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจ ต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่แตกต่างกัน และจากการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม การรับรู้ประสิทธิผลของผู้บริโภค การตระหนักรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การรับรู้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง รูปแบบการดำเนินชีวิต มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ปัจจัยด้านการรับรู้ภาวะวิกฤตโควิด – 19 เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการดำเนินชีวิตกับความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระแสนิยมอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแปรกำกับของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการดำเนินชีวิตกับความพึงพอใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | en_US |
dc.subject | อาหารเพื่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | ความพึงพอใจ | en_US |
dc.subject | ความตั้งใจซื้อ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อและความพึงพอใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.026 2565.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.