Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4994
Title: การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือทางเทคนิค 2 วิธีDirectional movement index (DMI) และ Moving Average Crossover (MOV) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลา 2548 -2563
Authors: ธวัชชัย แย้มวจี
Keywords: การเงิน
ประสิทธิภาพของเครื่องมือทางเทคนิค
ทฤษฎีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์
Issue Date: 23-Feb-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือทางเทคนิคถึง 2 ตัวด้วยกันซึ่งประกอบไปด้วย Directional movement index (DMI) และ Moving Average Crossover (MOV) โดยแต่ละเทคนิคจะมี 3 กลยุทธ์ที่นำมาทำการทดสอบ คือ กลยุทธ์แบบซื้อ หลักทรัพย์เท่าน้ัน (Long), กลยุทธ์แบบขายหลักทรัพย์เท่าน้ัน (Short) และกลยุทธ์แบบท้ังซื้อและขายหลักทรัพย์ (Long and Short) โดยมีข้อมูลที่ใช้ทำการทดสอบเป็น ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นข้อมูลราคาปิ ดย้อนหลังรายวันไป เป็น จำนวน 16 ปี ต้ังแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ท้ังหมด 76 หลักทรัพย์ จัดรวมกันเป็นพอร์ทโฟลิโอ ซึ่งทุกหลักทรัพย์ที่นำมาจัดเป็นพอร์ท เป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET100 ตลอดช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา และนำผลตอบแทน ที่ได้จากการใช้แต่ละเทรดเทคนิค มาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของกลยุทธ์การซื้อและถือ (Buy and Hold) ของพอร์ท นอกจากนี้ยังมีการวัดสัดส่วนของผลตอบแทนที่ได้รับกับความเสี่ยงในการลงทุน (Reward & Risk Index) และวัดการขาดทุนสูงสุด เมื่อเทียบกับเงินลงทุนเริ่มต้น (Highest Open Drawdown) พร้อมทั้งวัดความเสี่ยงของแต่ละกลยุทธ์การลงทุนด้วยด้วยวิธี Jensen Alpha, Sharp ratio และ Treynor ratio พร้อมทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของกำไรที่ทำได้ ผลการศึกษาพบว่า Moving Average Crossover (MOV) แบบซื้อ (Long) และแบบซื้อและขาย (Long and Short ) สามารถทำผลตอบแทนได้ที่ 13.15% และ 15.43% ซึ่งมากกว่าวิธีการซื้อและถือของพอร์ท (Buy and hold) ที่ 12.45% แต่ก็ยังให้ ผลตอบแทนที่น้อยกว่าวิธีซื้อและถือ (Buy and Hold) ของ SET100 ที่ให้ผลตอบแทนตลอดช่วงเวลาอยู่ที่ 14.83% และ 19.61% ผลการศึกษาของ Directional movement index (DMI) ไม่สามารถชนะวิธีการซื้อและถือของพอร์ท (Buy and hold) และของ SET 100 เทคนิคที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดของ DMI คือ แบบซื้อและขาย (Long and Short) ที่ 8.21% แต่ท้ัง 2 เทคนิค เมื่อเปรียบเทียบกับจุดคุ้มทุน ( Break Even) ก็จะไม่สามารถชนะวิธีซื้อและถือได้ (Buy and hold) ดังน้ันแล้วจึงสามารถสรุป ได้ว่าประสิทธิภาพของตลาดในประเทศไทยน่าจะจัดอยู่อย่างน้อยในระดับตลาดที่มีประสิทธิภาพแบบกลาง (Semi-Strong form Market efficiency)
Description: 63 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4994
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.001 2566.pdf1.3 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.