Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5031
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์เชิงนโนบายระหว่างกลุ่มองค์กรกำกับของรัฐ ภายใต้ระบบนวัตกรรมแห่งชาติในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย (National Innovation Systems of Thailand) |
Other Titles: | STUDYING OF POLICY RELATIONS BETWEEN GOVERNMENT SECTOR UNDER NATIONAL INNOVATION SYSTEMS OF THAILAND |
Authors: | อธิป รวีโภชน์ศิริ |
Keywords: | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม องค์กรกํากับของรัฐ ระบบนวัตกรรมแห่งชาติ อุตสาหกรรมอาหาร ประเทศไทย |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารของโลกมีแนวโน้มเติบโตมาอย่างต่อเนื่องและประเทศไทยมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมที่สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารและเกิดองค์ความรู้ใหม่ แต่เนื่องจากสถานการณ์การการแพร่ระบาด COVID-19 และภาวะสงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนทำให้การส่งออกสินค้า ประเภทอาหารของประเทศไทยลดลงจนขาดดุลการค้า ในปี พ.ศ. 2564 อีกทั้งเรื่องนโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านอาหารหน้าจากภาครัฐบาลใหม่ยังไม่มีความ ชัดเจน ทำให้การผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารเติบสามารถพัฒนาตามระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation System : NIS) ยังไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคการศึกษา และภาคเอกชนของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ให้เป็นแผนผังระบบนวัตกรรมแห่งชาติ รูปแบบการวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยจากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิที่เผยแพร่ผ่านช่องทางสาธารณะต่างๆ จำนวน 40 องค์กร และการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนผู้ให้สัมภาษณ์จากองค์กร/หน่วยงานที่เป็นมีบทบาทเกี่ยวข้องการการสร้างนวัตกรรมอาหารในประเทศไทยที่มาจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน จำนวนไม่น้อยกว่า 15ท่าน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง หรือ Purposive Sampling และใช้รูปแบบการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก (In-depth interview) โดยหลังจากได้มีการรวมรวมข้อมูลจากทั้งจากการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจากแต่ละหน่วยงาน/องค์กร ที่มีบทบาทสำคัญที่เป็นผู้เล่นหลัก (Key Players) ทั้ง 5 ภาคส่วน อันประกอบไปด้วย 1. องค์กร/หน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมนโยบายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร (Technology & Innovation Policy Formulators) จำนวน 8 องค์กร 2. องค์กร/หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณการวิจัย และสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้กับองค์กร/หน่วยงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย (Research & Innovation Facilitators) จำนวน 17 องค์กร 3. องค์กร/หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการวิจัยนวัตกรรมอาหาร (R&D Performers) จำนวน 16 องค์กร 4. ผู้เผยแพร่หรือให้บริการทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมอาหาร (Technology Diffusers) 11 องค์กร 5. ผู้ผลิตสินค้า และบริการทางด้านอาหาร (Goods & Service Providers Goods & Service Providers) หลังจากการสรุปข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนว่ามีความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ อย่างไรบ้าง จนเกิดเป็นแผนภาพระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (NIS) ของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ที่มีทั้งการร่วมมือทางด้านการวิจัย (Research) การทดสอบการให้การฝึกฝนและพัฒนา (Training) การแชร์ข้อมูล (Testing) การสนับสนุนเงินลงทุนทุน (Funding) การแชร์ข้อมูล (Information sharing) และการเคลื่อนย้ายแรงงาน (Resource mobility) นอกจากนี้ได้มีการหาความเชื่อมโยงเพื่อหาความสัมพันธ์ในมิติที่จะสามารถเอื้อให้เกิดระบบนวัตกรรมแห่งชาติได้มี 2 มิติ คือ (1) มิติความร่วมมือและเครือข่าย มีคความเชื่อมโยงสอดคล้องกับความร่วมมือของระบบนวัตกรรมแห่งชาติของการวิจัยก่อนหน้า และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบนวัตกรรมแห่งชาติของอุตสาหกรรมอาหารที่ยังขาดผู้ที่ทำภารกิจในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับตลาด เพื่อทำให้ผู้ผลิตในประเทศไทยสามารถทำการผลิตได้ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง และอยากให้ผู้ที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยทางอาหารและสุขภาพที่จะต้องผลักดันให้เกิดระบบนวัตกรรม แห่งชาติทางด้านอาหารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อหาจุดร่วมของนโยบายหรือกฎหมายที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐได้สะดวกสบาย และตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในปัจจุบันมากขึ้น (2) มิติการส่งเสริมศักยภาพและการจัดการปัญหา มีประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ โดยประเด็นที่พบมากที่สุดคือความต้องการเพิ่มความร่วมมือเชิงโครงสร้างระหว่างต่างหน่วยงานและองค์กรที่จะต้องอาศัยความร่วมโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องการให้จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบในเชิงนโยบายของแผนที่นำทางของอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะ และเพิ่มความต่อเนื่องในเชิงนโยบายมากขึ้นแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงของตัวผู้นำของหน่วยงานแต่ยังอยากให้มี การผลักดันและส่งต่อนโยบายที่เกิดขึ้นให้สำเร็จ ส่วนในมุมของผู้ผลิตสินค้าต้องการอยากได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากภาคส่วนต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งจากภาคธนาคาร และภาครัฐบาล รวมไปถึงความ ต้องการให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ให้ทุนและผู้ประกอบการ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดความสับสน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเพื่อผลักดันระบบนวัตกรรมอาหารแห่งชาติในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรทุกภาคส่วนที่มาจากต่างองค์กรมากขึ้น โดยอาจจัดตั้งเป็นทีมได้รับอำนาจในการตัดสินใจ หรือการมีแพลตฟอร์มเชื่อมโยงตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการกับองค์กร/หน่วยงานให้ทุนการศึกษา และควรมีศูนย์รวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ (National Communication Data Center : NCDC) เพื่อ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ตลอดจนมีคณะกรรมการหรือมีกลไกในการติดตามผล (Monitoring) ภายหลังจากความร่วมมือการร่วมงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงาน |
Description: | 112 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5031 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.010 2566.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.