Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5039
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจบูติคโฮเต็ล ในอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: FEASIBILITY STUDY OF THE DEVELOPMENT OF BOUTIQUE HOTEL IN UTHAITHANI
Authors: กฤษณ์กุล, วัฒนพันธุ์
Keywords: บูติคโฮเต็ล
จังหวัดอุทัยธานี
การท่องเที่ยว
Issue Date: 2566
Publisher: Mahidol University
Abstract: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ ผ่านมาส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จังหวัดอุทัยธานีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีอัตราการเจริญเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ผู้จัดทำแผนธุรกิจฉบับนี้ได้เล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพของการท่องเที่ยวในจังหวัดอุทัยธานีที่มีอัตราเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในธุรกิจบูติคโฮเต็ล หรือ ที่พักที่มีการตกแต่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีการบริการสอดคล้องไปกับบริบทของแหล่งชุมชน ที่กำลังเป็นกระแสนิยมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันที่จะมองการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience Tourism) และยังไม่มีผู้ประกอบการประเภทนี้ในจังหวัดอุทัยธานีมากนัก จากปัจจัยดังกล่าวนีผู้จัดทำจึงได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจบูติคโฮเต็ลในอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยจัดทำเป็นแผนธุรกิจ Unique Uthai Boutique Hotel & Restaurant ขึ้นมา Unique Uthai Boutique Hotel & Restaurant เป็นที่พักที่ให้บริการแบบ full service สำหรับเช่ารายวัน โดยแบ่งเป็นอาคารที่พัก 2 ชั้น จำนวน 3 อาคาร ในพื้นที่ 1.2 ไร่ โดยมีห้องพักรวมทั้งสิ้น 22 ห้อง สามารถรองรับ ผู้เข้าพักต่อคืนได้สูงสุดจำนวน 66 คน โดยมีราคาของห้องพักอยู่ที่ 1,800-2,100 บาท ต่อคืน และภายใน Unique Uthai Boutique Hotel & Restaurant ยังมีจุดเด่น คือระเบียงห้องพักที่หันหน้าเข้า court สระว่ายน้ำให้ความเป็นส่วนตัว และมีระเบียงที่สามารถชมวิวทิวเขาสะแกกรังได้จากในโรงแรม นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ล็อบบี้และบริการพื้นที่ส่วนกลาง (Common Area) รวมถึงบริการเสริมในร้านอาหารและคาเฟ่ รวมถึง Souvenir shop โดยลักษณะการตกแต่งทั้ง ส่วนงานสถาปัตยกรรม งานออกแบบภายใน ของประดับตกแต่ง หรือการออกแบบอัตลักษณ์ของโรงแรม จะเป็นการออกแบบในรูปแบบร่วมสมัย (Contemporary style) โดยใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมและศิลปะสไตล์ไทยประยุกต์ Indo Chinese โดยนำสถาปัตยกรรมจากวัดอุโปสถารามในจังหวัดมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ รวมถึงการใช้วัสดุจากรูปแบบบ้านไม้ชุมชนจีนในเมืองอุทัยธานีมาประยุกต์ให้เข้ากับความเป็นโมเดิร์นในปัจจุบัน เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างเอกลักษณ์ที่ชัดเจนให้แก่โรงแรมสไตล์บูติกปัจจุบันการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุทัยธานีโดยส่วนมากจะเป็นการแข่งขันทางด้านประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ซึ่ง Unique Uthai Boutique Hotel & Restaurant นั้นเป็นที่พักที่มีเอกลักษณ์อยู่แล้ว แต่จะสร้างความแตกต่างมากขึ้นใช้ในการแข่งขันโดยชูจุดขายผ่านการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มต่าง ๆ เช่นบริการร้านอาหาร ของฝากประจำจังหวัด การนำเที่ยว การทำ workshop และในส่วนของการให้บริการ พนักงานทุกฝ่ายจะต้องได้รับการอบรมการให้บริการที่ดีเยี่ยม รวมถึงการบริการที่มีคุณภาพและเป็นกันเอง บริษัทได้ตั้งเป้าหมาย “เป็นผู้นำในการให้บริการที่พักรูปแบบบูติกโฮเต็ลในระดับภูมิภาค” ซึ่งประมาณการการเข้าพักประมาณ ร้อยละ 60-70 ตลอดทั้งปีจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจและการวางแผนทางการเงิน Unique Uthai Boutique Hotel & Restaurant จะต้องใช้เงินลงทุนโดยประมาณการอยู่ที่ 19,604,000 บาท โดยมีสัดส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ เท่ากับ 50 : 50 มีต้นทุนเงินลงทุนเฉลี่ยของกิจการ (WACC) 7.81% จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนภายใต้สถานการณ์ปกติ พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิของกิจการ (NPV) เท่ากับ 333,336 บาท ซึ้งมีมูลค่าเป็นบวก อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) เท่ากับ 20.28% ซึ้งสูงกว่าต้นทุนเงินลงทุนเฉลี่ยของกิจการ (WACC 7.81%) และใช้ระยะเวลา 4 ปี 7 เดือนในการคืนทุน
Description: 90 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5039
ISSN: TP BM.011 2566
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.011 2566.pdf2.28 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.