Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5110
Title: | เปรียบเทียบทัศนคติด้านแรงจูงใจของความภักดีต่อองค์กรระหว่างพนักงานชาวญี่ปุ่นและพนักงานชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The Comparison of Loyalty Motivation between Japanese Employees and Thai Employees in Bangkok |
Authors: | สุธินี เกสจินดา |
Keywords: | ทุนมนุษย์และการจัดการองค์กร ความภักดีต่อองค์กร ทัศคติด้านแรงจูงใจ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | สารนิพนธ์เรื่องนี้ศึกษา “ทัศนคติด้านแรงจูงใจของความภักดีต่อองค์กรระหว่างพนักงานชาวญี่ปุ่นและพนักงานชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและ เปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติเกี่ยวกับแรงจูงใจในความภักดีต่อองค์กรระหว่างพนักงานชาว ญี่ปุ่นและพนักงานชาวไทย โดยการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (In-dept Interview) ผ่านการถามคำถามปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structure Question) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วย พนักงานบริษัทชาวไทย 15 คน และ พนักงานบริษัทชาวญี่ปุ่น 15 คน จากน้ันได้นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ผ่านกระบวนการในการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากผลวิจัยพบว่าพนักงานชาวญี่ปุ่นและชาวไทยมีมุมมองต่อคำว่า “ภักดีต่อองค์กร” เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลท้ังหมดมาสรุปได้ว่า “ภักดีต่อ องค์กร” คือ “ทุ่มเททำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความรู้สึกที่ยึด มั่นต่อองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรได้วางไว้ และพร้อมที่จะคง สถานะความเป็นสมาชิกขององค์กรนั้นต่อไป” ส่วนในด้านของทัศคติด้านแรงจูงใจต่อความภักดีต่อ องค์กร สำหรับพนักงานชาวญี่ปุ่น การรับรู้ว่าองค์กรมองพวกเขาอย่างไร จะส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กร ในขณะที่พนักงานชาวไทยน้ัน การรับรู้ว่าองค์กรสามารถทำอะไรให้พวกเขาได้บ้าง จะส่งผลต่อ ความภักดีต่อองค์กร |
Description: | 61 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5110 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP HOM.017 2566.pdf | 688.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.