Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5164
Title: | การศึกษาคุณภาพชีวิตของพนักงาน Start up แห่งหนึ่ง |
Other Titles: | THE STUDY OF QUALITY OF LIFE OF EMPLOYEES IN A START UP COMPANY |
Authors: | ณัชยศ โมธินา |
Keywords: | คุณภาพชีวิต Start up |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | Mahidol University |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของพนักงานในบริษัท Start up แห่งหนึ่งตามทฤษฎีของ Walton (1973) ที่แบ่งองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตการทำงานไว้ 8 ด้าน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 30 คนประกอบด้วยพนักงานในทุกแผนกขององค์กร ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า 1. ด้านค่าตอบแทน: ค่าตอบแทนเป็นธรรมและเหมาะสมกับการทำงาน แต่พนักงานก็ยังมีความต้องการสวัสดิการบางส่วนเพิ่มเติม 2. ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน: สภาพแวดล้อมการทำงาน เช่น สถานที่และอุปกรณ์ยังไม่มีความเหมาะสม ไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ต้องปรับปรุงบางส่วนทั้งในเรื่องปริมาณและคุณภาพ 3. ด้านการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคล: บริษัท เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถ มีการออกแบบลักษณะงานที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ทั้งนี้พนักงานก็ยังมีความต้องการให้บริษัทจัดหลักสูตรการพัฒนาทักษะจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกให้มากขึ้น 4. ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์ต่อบุคคลอื่น: สังคมการทำงานที่นี้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประสานงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนทีมกีฬามืออาชีพและมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน ทั้งนี้พนักงานเห็นว่าควรจัดกิจกรรมสันทนาการเพิ่มเติม 5. ด้านสิทธิเสรีภาพพื้นฐานตามกฎหมาย: กฎระเบียบมีความยืดหยุ่นเหมาะสมและสะดวกต่อการทำงาน อีกทั้งพนักงานก็มีสิทธิเสรีภาพพื้นฐานอีกเช่นกัน 6. ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน: มีแบบแผนและกระบรวนการส่งเสริมความก้าวหน้าที่ชัดเจนและเป็นระบบดี มีมาตรฐาน สามารถอ้างอิงและปรับใช้ได้จริง นอกจากนี้บริษัท ก็มีความมั่นคงที่ดี มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอและมีผลประกอบการที่โตขึ้นเรื่อยๆ จึงควรลงทุนเพิ่มเติมกับสิ่งที่จำเป็น 7. ด้านความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว: พนักงานรู้สึกว่ามีสมดุลที่ดีสำหรับการใช้ชีวิต มีเวลาที่เพียงพอสำหรับการทำงานการใช้ชีวิตส่วนตัวและการพักผ่อนเพื่อนร่วมงานเคารพเวลาซึ่งกันและกัน 8. ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม: พนักงานรู้สึกว่าการทำงานที่นี้ไม่ได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมแต่อย่างใด การทำงานที่นี้อยู่บนหลักพื้นฐานผลประโยชน์ทางธุรกิจ มุ่งเน้นการช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจมากกว่า หากต้องการช่วยเหลือสังคม ควรจัดกิจกรรม CSR เพิ่มเติม |
Description: | 99 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5164 |
ISSN: | TP HOM.023 2566 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP HOM.023 2566.pdf | 771.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.