Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5173
Title: แผนธุรกิจร้านขายเสื้อผ้าสำหรับเด็ก Baby First Piece
Other Titles: Business plan "Baby First Piece"
Authors: สมัชชญา ยิ่งเจริญ
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนธุรกิจ
เสื้อผ้าสำหรับเด็ก
Baby First Piece
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: ธุรกิจนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการพบเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัว เนื่องจากต้องการเลือกซื้อ เสื้อผ้าให้กับหลานร้านที่เป็นแบรนด์จากต่างประเทศนั้นมีความได้เปรียบทางด้านคุณภาพการผลิต แต่แบบผลิตที่สวยงาม ถูกใจ มักเป็นสินค้าที่มาจากผู้ผลิตในประเทศ ที่เข้าใจความต้องการ ทันกับ กระแสนิยมในประเทศเอง นอกจากน้ันยังมีแบบที่หลากหลายกว่า แต่ในทางกลับกันก็มีความด้อย กว่าในเรื่องของคุณภาพ เมื่อมองเห็นช่องโหว่ของอุตสาหกรรมในตรงนี้และเริ่มหาข้อมูลต่อเกี่ยวกับมูลค่า ตลาดของธุรกิจแม่และเด็กพบว่ามีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1 แสนล้านบาท โดยธุรกิจที่เป็นธุรกิจย่อยลง มาและมีมูลค่าสูงที่สุดคือธุรกิจเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มของเด็กที่สูงถึง 4 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มที่ เพิ่มขึ้นทุกปี ขัดแย้งกับสังคมผู้สูงวัยที่ประเทศไทยกำลังใกล้เผชิญ จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าพ่อ แม่มีการใช้เงินจากรายได้ท้ังหมด 35% ของตนเองในการเลี้ยงลูกและพร้อมที่จะใช้เงินเพื่อให้ลูกได้ สิ่งที่ดีที่สุด และจากการสอบถามคนใกล้ชิดยังพบอีกว่าพ่อแม่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าเสื้อผ้าเด็ก ด้วยเหตุผล 3 ประการหลัก ได้แก่ ซื้อสินค้าที่ใส่สบายใส่อยู่บ้านได้ สินค้าสำหรับใส่ไปท่องเที่ยว มีความสวยงาม น่ารัก เตะตาผู้พบเห็น และสุดท้ายสินค้าที่ใช้สำหรับการไปเยี่ยมบุตรหลานของคนอื่น กล่าวคือซื้อเพื่อเป็นของขวัญ จึงเป็นที่มาของแกนหลักของธุรกิจ Baby First Piece ซึ่งได้แก่ Basic Product สำหรับวันสบายๆ, Seasonal Product สำหรับการใส่ไปเที่ยว ใส่ถ่ายรูป และ Newborn gift set สำหรับการซื้อเป็นของขวัญ นอกจากนั้นผู้จัดทำจึงได้มีการทำแบบสำรวจเพื่อศึกษาถึงหลักการตัดสินใจของ ผู้บริโภค รวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่าย ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ซึ่งจากการสำรวจจาก กลุ่มเป้าหมาย 107 คน ซึ่งเป็นผู้หญิง 66.4% ผู้ชาย 32.7% และเพศทางเลือก 0.9% รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 25,000-40,000 บาท อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่ามีความสนใจในสินค้าเสื้อผ้า เด็กแบบ Basic product ที่ 91% และ Seasonal product อยู่ที่ 87.9% และ New born gift set อยู่ที่ 67.3% ซึ่งสามารถอนุมานได้ว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจกับสินค้าค่อนข้างมาก และพบว่าผู้ที่มี อำนาจตัดใจในครัวเรือน 63.7% เป็นคุณแม่ โดยเลือกจากคุณภาพของสินค้าเป็นหลักตามด้วยความ สวยงาม 21.5% โดยมีความถี่เดือนละ 1 คร้ัง โดยมีการซื้อบนช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ช๊อปปี้ ลาซาด้า ไลน์แอด ร่วมกัน 62.5% และช่องทางหน้าร้าน 36.4% ซื้อจากห้างสรรพสินค้า 0.9% จากผลการสำรวจนี้จึงสามารถอนุมานได้ว่าผู้บริโภคให้ความสนใจกับธุรกิจนี้ป็นอย่างดี และมีความถี่ในการซื้อเดือนละ 1 คร้ัง ซึ่งเป็นความถี่ที่สามารถการันตีรายได้ได้ระดับ หนึ่ง อย่างไรก็ดีผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เลือกสินค้าจากเรื่องของคุณภาพเป็นหลัก ธุรกิจจึง ควรให้ความสำคัญไปพร้อมๆกับเรื่องความสวยงาม ผลของการสำรวจยังบอกอีกว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ ใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้า ประเภทเดียวกัน ธุรกิจจึงเลือกใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร รวมถึงจัดจำหน่ายอีกด้วย โดยธุรกิจเลือกใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามทฤษฎีการ สื่อสาร AIDA กล่าวคือเริ่มจากการสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จัก (Awareness) เพื่อก้าวเข้าสู่สายตาของ ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น โดยเริ่มจากการทำเพจ “แต่งตัวให้หลาน” ซึ่งเป็นเพจที่เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการต้ังโจทย์ในการแต่งตัวให้หลานแต่ละเทศกาล คัดสรร วัตถุดิบ ตัดเย็บ จนถึงการถ่ายแบบ ถัดมาคือคือการเริ่มสร้างความสนใจ (Interest) ซึ่งในขั้นนี้เป็น ขั้นตอนที่กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจในสินค้า โดยการเริ่มเปิดเผยให้เห็นเสื้อผ้าในคอล เล็คชั่นแรก หลังจากน้ันเป็นขั้นตอนกระตุ้นให้เกิดความต้องการ (Desire) โดยเปิดตัวแคมเปญตุ๊กตา กระดาษเพื่อให้เกิดกระแสบนสื่อสังคมออนไลน์ และมีการเผยแพร่ต่อในวงกว้าง และสุดท้ายให้ โปรโมชั่นในการกระตุ้นการขาย (Action) โดยใช้วิธีการแถมของที่ละลึกที่มีจำนวนจำกัด ธุรกิจ Baby first piece คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมท้ังโครงการอยู่ที่จำนวน 2.5 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรประมาณ 315,390 บาท เงินลงทุนเพื่อค่าใช้จ่ายก่อน ดำเนินงาน 21,650 บาท เงินทุนผลิตในไตรมาสแรก 790,000 บาท เงินดือนพนักงานในครึ่งปีแรก และเงินทุนหมุนเวียน 711,460 บาท โดยไม่มีการกู้ยืม ยอดขายในปีแรกอยู่ที่ 6.6 ล้านบาทและมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นปีละ 5% โดยธุรกิจจะสามารถคืนทุนภายใน 4 ปี มีมูลค่าโครงการปัจจุบัน (NPV) อยู่ที่ 1.5 ล้านบาท คิดจากอัตราคิดลด 15% IRR เท่ากับ 60.99% และคาดว่า Payback Period ได้ ภายในระยะเวลา 3.58 ปี
Description: 96 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5173
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.017 2566.pdf2.46 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.