Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/518
Title: | ความต้องการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมทางการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและทัศนคติของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลฯ |
Authors: | ปุณยาพร มั่นหมาย |
Keywords: | Marketing การตลาด ผู้สูงอายุ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษา |
Issue Date: | 21-May-2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2556 |
Abstract: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมทางการศึกษาตามอัธยาศัย 2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้สถานศึกษาตามอัธยาศัยประเภทต่างๆในกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฏีจากข้อมูล (Grounded Theory Method) การเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นการค้นคว้าจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 10 ราย ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า 1.แนวคิดการเรียนรู้หรือกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุนั้น เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุให้ก้าวหน้าต่อไป 2.การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุแต่ละท่านนั้น มีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงทัศนคติ พฤติกรรมของผู้สูงอายุ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาปรับปรุงวิธีการสอน รวมไปจนถึงรูปแบบกิจกรรมทางการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการที่แตกต่างกันเหล่านั้น 3.รูปแบบกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุนั้น กระบวนการเรียนรู้ หรือรูปแบบการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เพื่อที่จะได้สามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้ได้เหมาะสมและบรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับผู้สูงอายุ ความสำคัญ : ผู้สูงอายุ/การศึกษา/เรียนรู้ |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/518 |
Other Identifiers: | TP MM.037 2556 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.037 2556.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.