Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5343
Title: | แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวินิจฉัยและคัดกรองภาพเอกซเรย์เต้านม |
Authors: | พรณัชชา ศรีจุฑา |
Keywords: | การจัดการธุรกิจสุขภาพ แผนธุรกิจ ปัญญาประดิษฐ์ ภาพเอกซเรย์เต้านม |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | บริษัท แฟมิลี่เมดิคอลแคร์ จำกัด จัดตั้งขึ้นเพื่อนเป็นตัวแทนนำเข้าผลิตภัณฑ์โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดกรองภาพเอกซเรย์ มะเร็งเต้านม เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันที่ได้มีการนำนวัตกรรมทางการแพทย์เข้ามาช่วยประเมิน คัดกรองผู้ป่วยให้ได้รับความรวดเร็วในการเข้ารับการตรวจและประเมินการรักษา ในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและผู้ที่เข้ารับการคัดกรองมะเร็งเต้านมในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น และมีการตรวจซ้ำทำให้ ผู้ป่วยหรือผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง เสียค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนและทางทีมรังสีแพทย์มีความล้าจากการทำงาน การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ทางด้านภาพเอกซเรย์เต้านม จะช่วยให้ขบวนการและขั้นตอนต่างๆ สามารถทำงานได้เร็วขึ้น ตัวอย่างในปัจจุบัน ได้แก่ การนำเข้าเทคโนโลยี โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับใช้วิเคราะห์ภาพเอกซเรย์ปอด มีการนำมาใช้ในโรงพยาบาลอย่างแพร่หลาย บริษัทฯ ได้นำโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ Lunit MMG ที่พัฒนาโดย บริษัท Lunit จากประเทศ เกาหลีใต้ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ รอยโรคของมะเร็งได้อย่างชัดเจนและสามารถระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของการเกิดโรคได้ ทำให้รังสีแพทย์มุ่งเน้นและให้ความสนใจกับภาพเอกซเรย์ เต้านมที่มีการระบุรอยโรค ทำให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินและเข้ารับการรักษาได้ในเวลาที่เร็วมากยิ่งขึ้น กลุ่มเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้ คือ กลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ ที่มีการตรวจคัดกรอง และรักษามะเร็งเต้านม เป็นกลุ่มลูกค้าประเภทธุรกิจโรงพยาบาล ที่มีจำนวนคนไข้เฉลี่ยมากกว่า 50 รายต่อวัน บริษัทฯ มุ่งเน้นสร้างประโยชน์ที่จะ ได้รับ จากการใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่ ลดเวลาของผู้เข้ารับการตรวจ ลดความซับซ้อนในการตรวจ และยัง ประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดความเหนื่อยล้าของรังสีแพทย์ที่มีจำนวนจำกัด ในการจัดจำหน่าย บริษัทฯ มุ่งเน้นการให้บริการผ่านผู้แทนของบริษัทฯ เป็นหลัก ซึ่งผู้แทนขายและทีมผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ จะได้รับการอบรมจากบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี เพื่อให้ข้อมูลและสาธิตการใช้งานให้กับกลุ่มผู้ใช้งานของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง และมีทีม บริการหลังการขาย คอยตอบคำถามให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถ รีโมท ผ่านออนไลน์เข้าไปช่วยเหลือลูกค้าเมื่อมีความ ต้องการ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถเลือกโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ได้ตามความต้องการและเหมาะสมของหน่วยงานหรือโรงพยาบาลเพื่อประหยัด ค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่อาจเกิดข้ึนได้ในอนาคต และบริษัทฯ ยังมีการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ผ่านงานประชุม วิชาการทางการแพทย์ เพื่อสร้างความรับรู้ในตัวโปรแกรมและตัวบริษัทฯ การจัดตั้งและดำเนินธุรกิจ บริษัท แฟมิลี่เมดิคอลแคร์ จำกัด คาดว่าจะใช้เงินเงินลงทุนประมาณ 5.0 ล้านบาท เป็นการระดม เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ 100% และจากการประมาณการในระยะเวลา 3 ปี คาดการดำเนินการตามแผนธุรกิจนี้จะมีผลตอบแทนจากการลงทุน คิดเป็นมูลค่าโครงการปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ที่ 10,980,200 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 71 และมีระยะเวลาคืนทุนภายใน 3 ปี |
Description: | 58 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5343 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP HBM.009 2567.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.