Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5372
Title: การรับรู้คุณภาพของสินค้า ทัศนคติและความพึงพอใจของเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นมแพะให้แก่สัตว์เลี้ยงในประเทศไทย
Pet owner's perceived quality attitudes and satisfactions affecting purchase intention goal milk Product for pets in Thailand
Authors: พัตร์พิมล ศรีชัยวงค์
Keywords: การตลาด
ผลิตภัณฑ์นมแพะ
สัตว์เลี้ยง
ประเทศไทย
ตราสินค้า
ความพึงพอใจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อทราบถึงสัดส่วนด้านประชากรศาสตร์ผู้ที่เคยซื้อ/ไม่ซื้อผลิตภัณฑ์นมแพะให้แก่สัตว์เลี้ยง และทราบว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีพฤติกรรมการรับรู้คุณภาพ มีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์นมแพะอย่างไร ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ความไว้วางใจและ ความตั้งใจซื้อในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมแพะของเจ้าของสัตว์เลี้ยง ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์นมแพะ ด้านทัศนคติ ด้านการรับรู้คุณภาพ ด้านการรับรู้ตราสินค้าและด้าน ช่องทางการจัดจําหน่าย รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคเจ้าของสัตว์เลี้ยงและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์เล้ียงมีความแตกต่างกันในมุมมองต่อแต่ละปัจจัยอย่างไร ทางผู้วิจัยยินดีที่จะให้ข้อมูลหรือผลวิจัยจากการศึกษานี้นําไปต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมธุรกิจสัตว์เลี้ยงหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงสร้างกลยุทธ์ทาง การตลาดให้กับธุรกิจได้ ผู้วิจัยจึงเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 504 ชุด หลังจากการคัดกรองข้อมูลแล้วพบว่ามีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสามารถวิเคราะห์ในงานวิจัยได้ จํานวน 411 ตัวอย่าง ผลวิจัยพบว่าประชากรที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.3 อายุระหว่าง 31-42 ปี ร้อยละ 55.2 ประกอบอาชีพเป็ นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 32.6 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 35,000 บาท ร้อยละ 34.5 สถานภาพ สมรส ร้อยละ 54.3 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 72.5 และอาศัยอยู่ พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ร้อยละ 65.5 อีกทั้งยังพบว่าประชากรเลี้ยงสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข ร้อยละ 37.2 มีจํานวนสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ตัว ร้อยละ 31.4 และเลือก รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่เป็นนมแพะสเตอริไลส์ ร้อยละ 29.2 รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เลือกซื้อจะเป็นกระป๋อง ร้อยละ 36.0 โดยมีความถี่ในการซื้อเฉลี่ย 5-6 กล่องต่อเดือน ร้อยละ 38.0 เลือกซื้อตราสินค้า Sirichai ร้อยละ 21.4 และเลือกซื้อผ่านช่องทางร้านค้าเพื่อสัตว์เลี้ยง Pet Store ใกล้บ้าน ร้อยละ 29.0,ออนไลน์ Shopee/Lazada ร้อยละ 29.0 ผลวิจัยยังพบว่าปัจจัยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ,ความไว้วางใจและความตั้งใจซื้อในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมแพะของเจ้าของสัตว์เลี้ยงมากที่สุด คือ การ รับรู้คุณภาพ รองลงมาคือทัศนคติต่อตราสินค้า นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังพบว่าการรับรู้ตราสินค้า (Brand Awareness ) กลับไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเลือก ซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์นมแพะให้แก่สัตว์เลี้ยง ความสัมพันธ์เชิงลบกับความไว้วางใจในการเลือกซ้ือสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์นมแพะให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างมี นัยสําคัญ การที่ผู้บริโภครู้จักตราสินค้าจํานวนมาก หลากหลายตราสินค้าแต่กลับไม่สามารถทําให้ผู้บริโภครู้สึกไว้วางใจหรือเช่ือมั่นเพิ่มมากขึ้นได้ สอดคล้องกับผลตอบ แบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างด้านการรับรู้ตราสินค้าของผู้บริโภคพบว่าผู้บริโภคสามารถจดจําตราสินค้าและจําแนกตราสินค้าได้น้อยมาก แต่ในทางกลับกันชื่อตรา สินค้ากลับเป็นปัจจัยสําคัญและมีอิทธิพลในการซื้อนมแพะของผู้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญ สุดท้ายนี้ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าความตั้งใจซื้อขึ้นอยู่กับระดับความพึงพอใจและความไว้วางใจ โดยมีทัศนคติต่อตราสินค้าและการรับรู้ คุณภาพ เป็นองค์ประกอบที่สําคัญและมีอิทธิพลส่งผลให้เกิดความพึงพอใจและความไว้วางใจ จนพัฒนานําไปสู่ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นมแพะในที่สุด เพื่อให้ธุรกิจ สามารถสร้างทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า ความพึงพอใจ และความไว้วางใจ จนพัฒนาไปสู่ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์นมแพะสําหรับสัตว์เลี้ยง ทางผู้ประกอบการและธุรกิจ ควรมุ่งเน้น 3 หัวข้อหลักๆ โดยการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อตราสินค้าควบคู่กับการให้ข้อมูลเพื่อการสร้างการรับรู้คุณภาพเป็นขั้นตอนแรกก่อน โดยไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่ต้องทําให้ผู้บริโภคหรือเจ้าของสัตว์เล้ียงมีทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า มีความเชื่อมั่นว่าใช้แล้วดีต่อสัตว์เลี้ยงของตนอย่างไร และหลังจากนั้นทางผู้ประกอบการค่อยหา แนวทางหรือวางแผนทิศทางของกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างการรับรู้ตราสินค้าต่อไป
Description: 61 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5372
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.042 2566.pdf1.54 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.