Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5447
Title: แผนธุรกิจบานเย็น ขนมไทย Creative
Authors: วีรินทร์ภัทร ฟูวังหม้อ
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนธุรกิจ
ขนมไทย
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: อัตราการเติบโตของสินค้า Confectionery & Snacks ในประเทศไทย (ตลาดขนมหวาน) มีอัตราเติบโตที่ 6.54% และจากผลวิจัยโดย Marketbuzzz มีการสำรวจผู้บริโภคอายุช่วงอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวนท้ังหมด 1,000 คนพบว่า สถานการณ์ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น เพิ่มความวิตกกังวลและก่อให้เกิด ปัญหาความเครียดต่อภาวะการเงินของครัวเรือนไทย ซ้ำยังส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสุขภาพจิต และสร้างความเครียดให้กับผู้บริโภคในวงกว้าง หากพิจารณาสัดส่วนค่าใช้จ่าย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ ใช้เงินไปกับค่าอาหารและของใช้ภายในบ้าน มากที่สุดถึง 1 ใน 4 ของรายจ่ายทั้งหมด ผู้บริโภคไม่ เพียงแต่กังวลเรื่องรายได้ที่ลดลงเท่านั้น ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ค่าอาหาร, ค่าสาธารณูปโภค และค่าน้ำมัน นอกจากนี้ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นอีกว่า ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยตรง 70% ยอมรับว่าตนเองกำลังประสบกับภาวะเครียด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 35-44 ปี ,ประชากรในภาคอีสาน, ภาคใต้ หรือเจ้าของกิจการขนาดเล็ก จากปัญหาความเครียดสะสมและความวิตกกังวลที่คนไทยประสบนั้น ประกอบกับวิถีชีวิต แบบคนเมืองที่เร่งรีบวุ่นวาย ทำให้ผู้คนพยายามหาทางดูแลสุขภาพทางอารมณ์ของตัวเองด้วยวิธีการ ต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ การรับประทานขนมกรุบกรอบหรือการรับประทานขนมหวาน เพราะช่วยทำอารมณ์ดีขึ้น เหมือนเป็นการให้รางวัลกับตัวเอง พบว่าคนไทยมากกว่า 77% หันมารับประทานขนมกรุบกรอบและ 81% เป็นตัวเลข ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ในปีที่ผ่านมา 54% ของผู้บริโภคไทยจำนวนมากรับประทานขนม ในโอกาสที่เรียกว่า “we-time” หรือช่วงเวลาที่ใช้ทำกิจกรรมพิเศษร่วมกับผู้อื่น รวมไปถึงเวลาที่พบปะ สังสรรค์กับเพื่อน ๆ และคนในครอบครัว และ 45% ทานขนมคนเดียวหรือเรียกว่าช่วงเวลา “me-time” เวลาที่รู้สึกเบื่อหรือเครียดพิจารณาตามกลุ่มอายุ คนรุ่นมิลเลนเนียล (อายุ 25 -44 ปี ) จำนวน 59% จำแนกตนเองเป็นคนที่กินแบบ “we-time” ในขณะที่คนรุ่น Gen Z (อายุ 18-24 ปี ) จำนวน 58% กินแบบ “me-time” พฤติกรรรมของผู้บริโภคยังสัมพันธ์ระหว่างอาหารและอารมณ์ในขณะนั้น ผู้บริโภค เลือกแบรนด์ที่ทำส่งผลเชิงบวกต่ออารมณ์ เช่นแบรนด์ที่ย้อนวัยความทรงจำในอดีต,แบรนด์ที่เลียนแบบ รูปสัตว์ การ์ตูน ทำให้แบรนด์ต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสื่อสารภาพลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ และแคมเปญการตลาดในแง่ที่ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ธุรกิจขนมไทยบานเย็น เป็นธุรกิจที่ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากชีวิตสมัยวัยเด็ก ที่เกิดและเติบโตมาในครอบครัวที่คุณยายที่จังหวัดแพร่ และคุณ ยายขายอาหารเหนือและขนมไทย มากว่า 40 ปี โดยสูตรยาย จะขายอาหารเหนือรสจัดตามสูตรคนแพร่ มีรสชาติเผ็ด เค็มและหอมเครื่องแกง และทำขนมไทยที่รสชาติเข้มข้น เช่นข้าวเกรียบปากหม้อ, ขนมหม้อแกง, ขนมเทียนใส้ถั่ว, ข้าวต้มมัด เป็นต้น โดยคุณยายเป็นคนที่มีทักษะและพรสวรรค์ในการทำอาหารคาวและอาหารหวานเป็นอย่างมาก เป็นทั้งแม่ค้าและแม่ครัวในงานบุญประจำหมู่บ้าน ทำอาชีพค้าขายอาหารเลี้ยงลูกสาวและหลานสาว จนเติบโต ถึงแม้เมนูขนมไทยยายจะเป็นขนมพื้นฐาน และหารับประทานได้ทั่วไปในตลาดภาคเหนือ แต่กรรมวิธีการทำขนมยายกลับเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและละเอียด มีหลายขั้นตอน อาทิเช่น ต้องเผา กาบมะพร้าวแล้วคั้นมาเป็นสีขนมเปียกปูน, การเจียวหอมแดงใส่ขนมหม้อแกง, การกวนข้าวเหนียวแดง ร้อน ๆ เนื่องจากคุณยายจะพิถีพิถันในการทำอาหารหรือขนมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ, ทำเองและห่อขายเอง และคุณยายขายดีมากและมีลูกค้าประจำ ครอบครัวและลูกหลานได้ขอให้คุณยาย หยุดขายและย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2563 เป็นปี ที่เกิดโรคระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีกฎห้ามผู้คน ออกนอกสถานที่ และการซื้ออาหารก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ต้องเปลี่ยนมาซื้อผ่านแพลตฟอร์ม สั่งอาหาร และในช่วงวิกฤตบางธุรกิจหรือร้านค้าก็ปิดตัวชั่วคราว ผู้วิจัยอยากทานขนมไทยที่อร่อย แต่พยายามหาร้านค้าไม่ได้ จนตัดสินใจลองทำขนมไทยแบบสมัยใหม่และแบบรสชาติที่ตนเองชอบ โดยดัดแปลงจากสูตรเก่ายาย หัดลองทำอยู่หลายครั้ง จนได้รสชาติและส่วนผสมที่มั่นคง จึงลองผลิตขาย และได้ผลตอบรับที่ดี มีกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่ที่ชอบเนื่องจากรสชาติดี อร่อย และมีกลิ่นอายของขนมไทยโบราณ แต่มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยแปลกตา และลูกค้าติดตามจากช่องทางออนไลน์ จึงเห็นขั้นตอน การทำขนม, ที่มาของขนมไทย จึงเป็นจุดกำเนิดในความคิดทำธุรกิจขนมไทยรุ่นใหม่ ที่ใช้ความคิด สร้างสรรค์ประยุกต์ ทั้งขั้นตอนการทำและการนำเสนอตัวขนมบนแพลตฟอร์มออนไลน์และดิจิทัล เพื่อให้ถึงกลุ่มลูกค้าสมัยใหม่มากที่สุด ผู้วิจัยตั้งชื่อแบรนด์ขนมไทยว่า “บานเย็น” เนื่องจากอยากให้ ร้านขนมไทยเป็นร้านที่ดูสนุก มีความสุข มีบรรยากาศความร่าเริงเหมือนความทรงจำในวัยเด็ก ของผู้วิจัยที่อาศัยอยู่กับยายที่จังหวัดแพร่ ใช้ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ปรับโฉมขนมไทย ทั้งรูปลักษณ์หน้าตาขนมและบรรจุภัณฑ์ โลโก้ สี สำหรับตัวขนมยังคงใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100% และปรับรสขนมให้หวานละมุน ทานได้ทุกวัน มีเมนูขนมไทยแบบโบราณ เช่น ขนมกล้วย, ขนมมัน, ขนมฟักทอง และขนมจากท้องถิ่นเช่น ขนมข้าวแต๋น, ขนมข้าวหนึกงา, ขนมข้าวเม่าเขียว เป็นต้น และสามารถซื้อได้จากทุกช่องทางทางออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น การทำวิดิโอคอนเท้นท์เล่าประวัติขนม, การพาไปชมแหล่งวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจากแบรนด์ขนมไทย ทั่วไปที่เน้นเรื่องรสชาติและประวัติความเป็นมาของเจ้าของเป็นหลัก ทั้งนี้ธุรกิจขนมไทยบานเย็น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมทั้งโครงการอยู่ที่จำนวน 1,199,186 บาท โดยแบ่งออกเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรประมาณ 132,086 บาท เงินลงทุน เพื่อค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินงาน 67,100 บาท และเงินทุนหมุนเวียนสุทธิประมาณ 1,000,000 บาท ซึ่งเงินลงทุนเป็นจำนวนเงินรวม 1,199,186 บาท เป็นเงินสดส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 527,642 บาท หรือ 44% ของจำนวนหุ้น และกู้เงินจากธนาคาร 671,544บาทหรือ 56% เป็นจำนวนเงินรวม 1,199,186 บาท ประมาณการยอดขายปีที่ 1 เป็นรายได้ 2,973,600 บาท และคาดว่ายอดขายจะเติบโตในปี ที่ 2-5 เป็น 10%, 18%, 28%, 35% ตามลำดับ โดยคำนวณมูลค่าโครงการปัจจุบัน (NPV) อยู่ที่ 94 ล้านบาท คิดจาก อัตราคิดลด 15% อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 279% และ ธุรกิจจะสามารถคืนทุนได้ ภายใน 1.72 ปี
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5447
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.040 2566.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.