Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5487
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ และความตั้งใจเข้ารับบริการซ้ำของเจ้าของสุนัข ในการดูแลสุขภาพสุนัขเชิงป้องกัน ในสถานพยาบาลสัตว์ เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล |
Other Titles: | actors impacting customer satisfaction and repeat service intention of dog owners in preventive health care at animal hospitals in Bangkok and metropolitan area |
Authors: | อารดา พันธ์พงศ์ |
Keywords: | การจัดการธุรกิจ คุณภาพการบริการ ความตระหนักสนใจในเรื่องสุขภาพ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของสถานพยาบาลสัตว์ ความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ ความตั้งใจเข้ารับบริการซ้ำ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ และความตั้งใจเข้ารับบริการซ้ำของ เจ้าของสุนัขในการดูแลสุขภาพสุนัขเชิงป้องกัน ในสถานพยาบาลสัตว์ เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึงมีวิธีการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม ออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของสุนัขชาวไทย ที่มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครองสุนัข และเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการเลียงดูสุนัขไม่น้อยกว่า 6 เดือน และได้นำสุนัขเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลสัตว์อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 425 คน ผลการศึกษาพบว่า เจ้าของสุนัข ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีสูงสุด ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้ เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 50,001 บาท ขึ้นไป สำหรับปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลสัตว์มากที่สุด คือ ปัจจัยภาพลักษณ์ของ สถานพยาบาลสัตว์ รองลงมาคือ ปัจจัยการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ปัจจัยคุณภาพการบริการด้านการเข้าอกเข้าใจและการใส่ใจ ปัจจัยคุณภาพการบริการ ด้านการตอบสนองของผู้ให้บริการ และปัจจัยความตระหนักสนใจในเรื่องสุขภาพของสุนัข ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อความตั้งใจเข้ารับ บริการซ้ำของเจ้าของสุนัขมากที่สุด คือ ปัจจัยความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ รองลงมาคือ ปัจจัยภาพลักษณ์ของสถานพยาบาลสัตว์ ปัจจัยคุณภาพ การบริการด้านการสร้างความมั่นใจของผู้ให้บริการ และปัจจัยความตระหนักสนใจในเรื่องสุขภาพของสุนัข ตามลำดับ จากผลการวิจัยทางผู้ประกอบการสถานพยาบาลสัตว์สามารถนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ และปรับใช้ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการ โดยสถานพยาบาลสัตว์ควรเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ในเรื่องของการสร้างความน่าเชื่อถือ การแสดงถึงมาตรฐาน ความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน และการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส นอกจากนี้สถานพยาบาลสัตว์ ควรต้องมีการสำรวจความพึงพอใจของเจ้าของสุนัขในการเข้ารับบริการ ตามความเหมาะสมด้วย |
Description: | 156 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5487 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.096 2566.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.