Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5559
Title: | การย้ายประเทศของคนไทย |
Other Titles: | Let's move out of the country |
Authors: | เชิญตะวัน จูประเสริฐ |
Keywords: | การตลาด การย้ายประเทศ ปรากฎการณ์สมองไหล การดึงดูดคนเก่ง ภาพลักษณ์ประเทศ การบริหารจัดการทรัพยากรณ์มนุษย์ |
Issue Date: | 2567 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงที่ปัจจัยที่ทำให้คนไทยย้ายประเทศไปยังประเทศอื่น เพื่อไปเรียน ทำงาน ใช้ชีวิต จนนำไปสู่การยื่นขอเพื่อเป็นพลเมืองสัญชาติอื่น รวมถึงความสัมพันธ์ของ เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเข้าถึงการศึกษา และคุณภาพชีวิตว่าส่งผลอย่างไรต่อเรื่องการย้าย ประเทศของคนไทย โดยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก และการสังเกตเชิงวิเคราะห์กลุ่มคนไทยที่ย้ายไปทำงานและอาศัยอยู่ต่างประเทศและกลุ่มคนไทยที่มีความต้องการย้ายไปทำงานและอาศัยอยู่ต่างประเทศจากกลุ่มเฟซบุ๊ก “โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย” ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเมื่อบุคคลมีทัศนคติที่ดีต่อการย้ายประเทศ และเชื่อว่าการย้ายประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้หลีกหนีจากความไม่พอใจจากประเทศไทยไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ จึงมีการค้นหาข้อมูล สอบถามจากบุคคลใกล้ชิดหรือกลุ่มคนที่ย้ายประเทศสำเร็จ และเมื่อมีต้นทุนในชีวิตจึงเกิด การประเมินว่ามีความพร้อมที่จะย้ายประเทศได้ นำไปสู่แรงผลักดันทำให้แสดงพฤติกรรมการย้ายประเทศ นอกจากนี้ภาพลักษณ์และการสื่อสารข้อมูลของประเทศต่างๆ มีผลต่อการดึงดูดคนเก่ง เมื่อมีการหาข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ สอบถามจากบุคคลใกล้ชิด จากผู้ที่เคยย้ายจนสำเร็จ จากข้อมูลทางการของประเทศนั้นๆ รวมทั้งการปรึกษาเอเจนซี่ เมื่อนำข้อมูลในทุกมิติมาประเมินควบคู่กับบริบทและข้อจำกัดต่างๆ ในชีวิตแล้ว พวกเขาจึงตัดสินใจเลือกประเทศที่เหมาะสมกับความพร้อม ความสามารถ ตอบโจทย์ความ ต้องการ และมีแนวโน้มที่จะทำให้การย้ายประเทศสำเร็จได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด |
Description: | 56 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.011 2567.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | ![]() View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.