Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/674
Title: | แนวทางการพัฒนาสื่อโฆษณานอกบ้าน สำหรับทางเลือกของนักการตลาดและเอเจนซี่โฆษณา เพื่อการโฆษณาสินค้าและบริการในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | อรรัมภา หัวใจ |
Keywords: | Marketing การตลาด กรุงเทพมหานคร การโฆษณา |
Issue Date: | 15-Sep-2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2556 |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาถึงภาพรวมธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน รูปแบบของการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของนักการตลาดและนักโฆษณา ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ประกอบธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน จำนวน 3 ท่าน และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จาการค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาแนวคิดการวิจัยให้สมบูรณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการศึกษาวิจัยนี้ พบว่า สื่อโฆษณานอกบ้าน มีบทบาทในการเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกใช้สื่อของสินค้าและบริการ เนื่องมาจากวิถีชีวิตประจำวันคนที่เปลี่ยนแปลงไป สื่อนอกบ้านในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัย รูปลักษณ์สวยงาม รวมถึงมีแนวความคิดต่างๆที่ออกแบบลงบนสื่อประเภทนี้ ทำให้สื่อมีประสิทธิภาพที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน การจดจำแบรนด์สินค้า ปรับเปลี่ยนทัศนคติ นำไปสู่การตัดสินใจซื้อได้ และสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อสื่อนอกบ้านนั้น คือ ทำเลหรือโลเคชั่น นักการตลาดและเอเจนซี่โฆษณามักจะมีการเลือกซื้อสื่อเพื่อทำตลาดในแต่ละพื้นที่โดยคำนึงถึงไลฟ์สไตล์ ของคนในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้มีอัตราการมองเห็นสื่อที่สูงขึ้น นอกจากนี้หัวใจสำคัญของงานโฆษณาและทำให้เกิดการสื่อสารยั่งยืนได้นั้น ขึ้นอยู่กับแนวคิด (Idea) ที่อาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกื้อหนุน สอดคล้องกับพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค คำสำคัญ : งานโฆษณา/ สื่อโฆษณานอกบ้าน/ นักการตลาด/ เอเจนซี่โฆษณา |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/674 |
Other Identifiers: | TP MM.074 2556 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.074 2556.pdf | 8.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.