Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3062
Title: | กลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้ E-learning เพื่อตอบสนองความต้องการในยุคศตวรรษที่ 21 =A STRATEGY OF E-LEARNING DEVELOPMENT IN 21st CENTURY. |
Authors: | ศุภาภรณ์ พงษ์แพทย์ |
Keywords: | การจัดการและกลยุทธ์ E-learning ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 10-Aug-2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2562 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาการเรียนรู้ E-Learning งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน โดยงานวิจัยนี้มีประเด็นที่จะศึกษาปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพของที่รองรับระบบปฏิบัติการ (platform) ด้านคุณภาพเนื้อหา (content) และด้านคุณภาพเครื่องมือ (tool) ที่มีผลต่อการใช้งาน (Use) บทเรียนออนไลน์ และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (User Satisfaction) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement) ของผู้ใช้งานบทเรียน E-Learning ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อการใช้งาน และความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน จากมากไปน้อย ดังนี้ คุณภาพของ platform คุณภาพของ content และคุณภาพของ tool ตามลำดับ ผู้จัดการเรียนการสอนหรือผู้ดูแลระบบสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียน E-Learning โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพการบริการเป็นหลัก เนื่องจากคุณภาพการบริการเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้งานและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน เพราะหากมีคุณภาพการบริการที่ดี ผู้ใช้งานระบบก็จะมีความรู้สึกที่อยากกลับมาใช้งานซ้ำในครั้งต่อไป และมีความพึงพอใจที่ดีตามไปด้วย รวมถึงการพัฒนารูปแบบ E-Learning ทั้งในรูปแบบสถาบันการศึกษาและด้านเชิงพาณิชย์ควรผสมผสานในเรื่องของการตลาดและกลยุทธ์การตอบสนองความต้องการของผู้เรียนด้วย เพื่อพัฒนา E-Learning ให้มีประสิทธิภาพที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่อไป |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3062 |
Other Identifiers: | TP MS.008 2562 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.008 2562.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.