Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3723
Title: แรงจูงใจการประกอบกิจการร้านอาหารประเภทร้านอาหารทั่วไป (Fast Dining) =MOTIVATION FACTORS FOR FAST DINING BUSINESS OPERATIONS.
Authors: ธนพร วังมูล
Keywords: แรงจูงใจ
ธุรกิจครอบครัว
ร้านอาหาร
ความชอบรับประทาน
สร้างความแตกต่าง
Issue Date: 21-Jan-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2562
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแรงจูงใจในการประกอบกิจการร้านอาหารทั่วไป (Fast dining) การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก ช่องรายการบนสื่อสังคมออนไลน์ (YouTube) ดังนี้ ช่องรายการอายุน้อยร้อยล้าน จำนวน 25 คลิปวิดีโอ และช่องรายการอื่น ๆ จำนวน 5 คลิปวิดีโอ รวมทั้งหมด 30 คลิปวิดีโอ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) คัดเลือกคลิปวิดีโอที่เป็นเจ้าของธุรกิจประเภทอาหาร โดยทำการฟัง และถอดเทปด้วยการจดบันทึกอย่างละเอียด เพื่อนำมาแยกประเด็นสำคัญของแต่ละคลิปวิดีโอ และนำมาถอดรหัสข้อมูล (Coding) จากนั้นทำการกำหนดหมวดหมู่หลัก และจัดหมวดหมู่โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของเนื้อหาที่มีความสอดคล้องหรือคล้ายคลึงกันให้อยู่ในหมวดเดียวกัน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ สรุปเป็นผลของแรงจูงใจในการประกอบกิจการร้านอาหารทั่วไป (Fast dining) ผลงานวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการประกอบกิจการร้านอาหาร หรือจุดเริ่มต้นในการริเริ่มกิจการต่าง ๆ ได้นั้น มีสาเหตุหลักมาจาก 3 ปัจจัย คือ 1. ความชอบ 2.การมีเป้าหมาย 3.ความรู้สึกรับผิดชอบ ซึ่งคำว่าความชอบเป็นคำที่พบมากที่สุด การมีเป้าหมาย และความรู้สึกรับผิดชอบเป็นลำดับรองลงมา จากการวิจัยพบว่า แรงจูงใจจากการชอบรับประทานอาหารต่าง ๆ เป็นแรงจูงใจที่มากที่สุด รองลงมาจะเป็นในด้านของ ธุรกิจครอบครัว พบมากสุดเป็นอันดับสอง อันดับสามคือการสร้างความแตกต่าง อันดับสี่คือการต้องการประสบความสำเร็จ และอันดับที่ห้าคือการชอบค้าขาย และจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งผลการวิจัยทั้งสองด้านที่เท่ากัน
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3723
Other Identifiers: TP MM.049 2562
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.049 2562.pdf544.69 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.