Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3780
Title: การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์สำหรับโซ่อุปทานขั้นกลางน้ำของธุรกิจเกษตรพริกขี้หนู พันธุ์ซุปเปอร์ฮอท =RESEARCH AND DEVELOPMENT TO CREATE COMMERCIAL VALUE TOWARD MIDSTREAM OF AGRICULTURAL BUSINESS SUPPLY CHAIN OF SUPERHOT CHILI.
Authors: พีรวัส นาคสุข
Keywords: การจัดการธุรกิจ
พริกขี้หนู
Issue Date: 23-Dec-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2563
Abstract: พริกเป็นพืชที่หาง่าย และมีหลากหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย เช่น พริกขี้หนูผลใหญ่ พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกขี้หนูสวน เป็นต้น พริกถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ซอสพริก พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง สีผสมอาหาร นอกจากนี้ยังนำพริกมาสกัดสารสำคัญโดยเฉพาะ แคปไซซิน(Capsaicin) ซึ่งเป็นสารให้ความเผ็ดที่ไม่มีพืชชนิดไหนมาทดแทนได้ และเนื่องจากสรรพคุณที่หลากหลายของ แคปไซซิน จึงทำให้ปัจจุบันการสกัดสารแคปไซซินยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในประเทศได้อย่างเพียงพอ รวมถึงพริกเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งออก จึงอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในไทยและหน่วยงานภาครัฐ ในการหาแนวทางในการพัฒนาสมุนไพรไทยให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต ผู้วิจัยจึงมีความต้องการที่จะศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภคในสารสกัด Capsaicin รวมถึงศึกษาแรงต้านจากปัจจัยต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงในการล้มเหลว การวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคสารสกัดพริกในระดับองค์กรที่นำพริกไปต่อยอดเป็นสินค้าที่เป็นสารสกัด (Business-to-Business;B2B) โดยศึกษาผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค โดยจะมีการเก็บข้อมูลทั้งจากภาคอุปสงค์และภาคอุปทาน จากการใช้บทสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายผลแบบกลุ่มในเชิงภาพรวม จนได้องค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการนำไปต่อยอดหรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อพริกของโรงงานสารสกัด มีปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพริกมากที่สุดรองลงมาคือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ และสิ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างให้เกษตรกรได้คือ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อโรงงาน โดยการเข้าใจและให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้านั้นสามารถ ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงตลาดเฉพาะที่มีผู้เล่นน้อยรายได้
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3780
Other Identifiers: TP BM.020 2563
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.020 2563.pdf922.62 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.