Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4286
Title: ศีลธรรมและลัทธิความเชื่อในการไม่บริโภคเนื้อสัตว์บางชนิดของคนไทยบางกลุ่ม ถือเป็นตัวปิดกั้นการทานเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช (Plant-based Meat) หรือไม่
Other Titles: The Moral and Religious Beliefs underlying Consumer Attitudes towards Plant-based Meat in Thailand
Authors: อรวรา, จิ๋วพัฒนกุล
Keywords: การตลาด
Plant-based Meat
เนื้อที่ทำมาจากพืช
เนื้อต้องห้าม
Issue Date: 9-Sep-2021
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: โครงการวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อสำรวจมุมมองและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบเนื้อที่ทำมาจากพืช (Plant-based Meat) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีข้อจำกัดในการทานเนื้อสัตว์บางชนิด และกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Plant-based Meat พร้อมทั้งสำรวจหาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดดังกล่าว ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และความพร้อมสำหรับ ช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศไทยว่ามีเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ และเนื้อหรือ เมนูชนิดใดที่ผู้บริโภคต้องการให้ผลิตเพิ่มเติม โดยมีกระบวนการวิจัย 2 วิธี คือการทบทวนวรรณกรรม ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งสรุปผลวิจัยได้ว่ากลุ่มที่นิยมทาน Plant-based Meat มากที่สุดคือกลุ่มมังสวิรัติที่ทานนมและไข่ (Lacto Ovo Vegetarian) มีความรู้สึกดีที่ ผลิตภัณฑ์นี้มาเติมเต็มความหลากหลายและรสชาติอาหารมังสวิรัติให้อร่อยยิ่งขึ้น ในขณะที่กลุ่ม ผู้บริโภคชาวมุสลิมและกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมปฏิเสธที่จะทานเนื้อหมูและเนื้อวัว จากพืชตามความเชื่อและความศรัทธาที่ตั้งใจจะงดเว้นอาหารทุกชนิดที่สื่อหรือมีรสชาติเสมือนอาหาร ต้องห้ามไม่ว่าจะถูกนำเสนอในรูปแบบใดก็ตาม ผู้ผลิตจึงควรที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพิ่มเมนูอาหารพร้อมทานอาหารทะเล และอาหารเจที่ไม่มีไข่กับผักที่มีกลิ่นฉุนเป็น ส่วนผสมในรูปแบบ Plant-based Food เพื่อขยายฐานลูกค้า และนำพาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
Description: 77 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4286
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.061 2564.pdf2.29 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.