Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4557
Title: | แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดแบรนด์ออนไลน์ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนจากพืช สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อการดูแลรูปร่าง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | MARKETING STRATEGY GUIDELINE FOR PLANT PROTEIN POWDER SUPPLEMENTS IN THAILAND |
Authors: | นันท์นภัส, พูลอนันต์ |
Keywords: | การจัดการและกลยุทธ์ โปรตีนชนิดผงจากพืช ความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์ |
Issue Date: | 30-Mar-2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนชนิดผงจากพืชในประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติ และความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนชนิดผงจากพืชในประเทศไทย โดยวิธีการสำรวจด้วยการกรอกแบบสอบถาม รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 345 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติการเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Independent-Samples T-Test ของข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ และ สถานภาพ ในส่วนข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์ ด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA กรณีพบค่าความแตกต่างจะเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้ Bonferroni Analysis เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างด้านความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนผงจากพืช จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ปัจจัยทางด้าน เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ที่แตกต่างกันมีผลต่อความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนผงจากพืช ยกเว้นปัจจัยทางด้านสถานภาพ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนผงจากพืช 2) ส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ที่มีอิทธิพลต่อความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนผงจากพืช คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด |
Description: | 60 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4557 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.011 2565.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.