Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4758
Title: แผนธุรกิจ MAMAMU (มามามู) แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการด้านความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
Authors: กวินณา บุญทิพย์
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนธุรกิจ
MAMAMU
ความเชื่อ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
Issue Date: 17-Oct-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: บทสรุปผู้บริหาร บริษัท มูหวังปัง จำกัด มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ คือ เป็นผู้นำเทรนด์ด้านการเสริมกำลังใจให้ผู้ใช้บริการนับถือบูชาในสิ่งที่เชื่อที่ครบวงจรและเข้ากับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีพันธกิจ มุ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นสังคมออนไลน์ของผู้ที่ชื่นชอบด้านความเชื่อ เรื่องลี้ลับ ของขลัง ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ การดูไพ่ การเสริมดวงและโชคชะตา การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ให้มีประโยชน์ สร้างค่านิยมให้สังคมใหม่ว่า “ความเชื่อไม่ใช่เรื่องที่งมงาย” และมุ่งปรับรูปแบบการให้บริการให้สอดรับกับยุคสมัยและความต้องการของผู้ใช้บริการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกสบายและปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จากผลการวิจัย ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ที่เผยข้อมูลงานวิจัย “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น” ซึ่งได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,200 คน พบว่า คนไทยกว่า 52 ล้านคนมีความเชื่อเรื่องของโชคลาง โดย 5 อันดับความเชื่อเรื่องโชคลาง ได้แก่ 1.พยากรณ์ โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี 2.พระเครื่อง วัตถุมงคล 3.สีมงคล 4. ตัวเลขมงคล 5.เรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องความเชื่อทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยพบว่าแม้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่คนยังคงเดินทางไปทำบุญและขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เป็นที่พึ่งทางใจ ในด้านการงาน การเงิน ความรัก ซึ่งจากผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของแผนธุรกิจนี้เกิดจากผู้จัดทำมีความชื่นชอบในเรื่องราวของความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว ประกอบกับประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความผูกพันกับเรื่องราวของความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์และโหราศาสตร์มาอย่างยาวนาน ผู้วิจัยได้มองเห็นภาพรวมของปัญหาและความต้องการของกลุ่มคนที่ชื่นชอบเรื่องราวความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และโหราศาสตร์ ประกอบกับด้วยโลกที่เปลี่ยนไปประชากรเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้นจึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีจะผูกโลกที่หมุนไปตามอินเทอร์เน็ตไว้กับความเชื่อเหล่านี้ให้ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ลดปัญหาการถูกหลอกลวง จึงกลายมาเป็น แอปพลิเคชันมามามู โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มลูกค้าเพศหญิงที่ทำงานประจำอายุ 25 – 45 ปีที่กำลังเติบโตในสายงานด้านต่างๆ ชื่นชอบในเรื่องของไสยศาสตร์ บูชาเครื่องรางของขลัง ชอบตรวจและรับคำทำนายโชคชะตาของตนแต่ไม่มีเวลาเนื่องจากทำงานหนัก และไม่มีความรู้ด้านการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างจริงจัง เมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และบริการกับคู่แข่งอย่าง aดวง ดวงlive มูเตเวิร์ล ศรัทธา.online นั้นพบว่าคู่แข่งยังมีสัดส่วนการตลาดลูกค้าแบบเน้นเฉพาะกลุ่ม ราคาเริ่มต้นและรูปแบบผลิตภัณฑ์ยังไม่หลากหลายมากเท่าที่ควร ทางมามามูจึงเลือกกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง โดยการสร้างรูปแบบผลิตภณั ฑ์ที่หลากหลายและครอบคลุมในทุกกิจกรรมความเชื่อ เพื่อสะดวกกบั การใช้ งานของผูใช้บริการ แผนธุรกิจ MAMAMU (มามามู)แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการด้านความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เริ่มต้นด้วยผู้บริหาร นางสาวกวินณา บุญทิพย์ โดยมีที่ปรึกษาทางธุรกิจคือ ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ ในการเริ่มต้น ธุรกิจนั้นประกอบด้วย พนักงานฝ่ายนักพัฒนาแอปพลิเคชัน 3 คน พนักงานฝ่ายการตลาด 3 คน พนักงานบัญชีและการตลาด 2 คน รวมทั้งหมด 8 คน ในการเริ่มต้นธุรกิจ และค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อธุรกิจขยายตัว มากขึ้น จากแผนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ สำหรับการ ประมาณการลงทุนใน 5 ปี แรกพบว่า แผนธุรกิจ MAMAMU (มามามู)แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการ ด้านความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบริษัท มูหวัง ปัง จำกัด มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 7.57 ล้านบาท จากต้นทุนเงินทุนของเจ้าของ 3.75 ล้านบาท โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)2.67ล้านบาท และมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 34.3% โดยมีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 4 ปี แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีความเป็นไปได้ที่จะลงทุน
Description: 65 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4758
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.031 2565.pdf144.78 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.