Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4868
Title: จิตวิทยาทางการเมือง และภาพลักษณ์ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
Other Titles: POLITICAL PSYCHOLOGY AND BRAND IMAGE OF CHADCHART SITTIPUNT
Authors: ณัฐวรัญชน์, เขียววิจิตร
Keywords: การตลาด
การเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การเมือง
Issue Date: 20-Nov-2022
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: จากปรากฏการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนอย่างล้นหลามนั้น สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองทางการเมืองที่สำคัญของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจและทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยทางการตลาด เพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง (การตลาดการเมือง) ที่มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเลือกศึกษาถึงกรณีของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งมีการนา การตลาดมาประยุกต์ใช้ทางการเมืองได้อย่างโดดเด่น โดยมีตัวแปรทางจิตวิทยาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลิกภาพแมคคิเวลเลียน แนวคิดอุดมคตินิยม แนวคิดสัมพัทธนิยม และตัวแปรทางการตลาดคือตัวแปรภาพลักษณ์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าภาพลักษณ์ส่งผลต่อการเลือกตั้งมากที่สุด รองลงมาคือแนวคิดสัมพัทธนิยม ดังนั้นนักการเมืองควรจะให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์เป็ นอย่างมาก โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของนักบริหาร เพื่อลบภาพลักษณ์ข้าราชการในรูปแบบเดิมๆ ต้องแสดงความสามารถในการทำงานด้านการบริหาร มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีทักษะในการสื่อสาร แสดงให้เห็นถึงการทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ส่วนแนวคิดสัมพัทธนิยม เป็นแนวคิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา หรือ บริบท ณ ตอนนั้น ในทางกลยุทธ์ นักการเมืองที่ต้องการคะแนนนิยมมากๆ ก็ต้องใช้วิธีทางการตลาดที่เรียกว่า Customer Centric คือสื่อสารหรือทาในสิ่งที่ประชาชนต้องการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่เหมาะสมกับตำแหน่ง เหมาะสมสถานการณ์ของบ้านเมืองในช่วงเวลานี้
Description: 107 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4868
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.056 2565.pdf1.9 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.