Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/490
Title: แนวคิดการสร้างและรูปแบบอารมณ์ขันในการสื่อสารการตลาดผ่านกลยุทธ์ Above The Line
Authors: รฤธ พอกพูนขำ
การตลาด
Keywords: Marketing and Management
การสื่อสาร
แนวคิด
Issue Date: 20-May-2014
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2556
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวคิดการสร้างอารมณ์ขันและรูปแบบอารมณ์ขันในการสื่อสารการตลาดผ่านกลยุทธ์ Above The Line การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานโฆษณาที่ผ่านสื่อโทรทัศน์ จำนวน 19 รายการ และป้ายโฆษณาบิลบอร์ด (Billboard) จำนวน 2 รายการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการตีความด้านเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดในการสร้างอารมณ์ขันในการสื่อสารการตลาดผ่านกลยุทธ์ Above The Line สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การสร้างอารมณ์ขันจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ทั่วไป การสร้างอารมณ์ขันจากการนำจุดเด่นหรือข้อดีของธุรกิจ/ผลิตภัณฑ์/หรือบริการมาปรับแต่งให้เกิดความน่าสนใจหรือประหลาดใจ และการสร้างอารมณ์ขันจากการใช้ภาษามาสร้างให้เกิดความสงสัยและต้องการรู้ แนวคิดการสร้างอารมณ์ขันที่ถูกใช้มากที่สุด คือ แนวคิดการสร้างอารมณ์ขันจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ทั่วไป เป็นเนื่องจากแนวคิดนี้เป็นการสร้างจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักเคยมีประสบการณ์ร่วม ทำให้สามารถเข้าใจเรื่องราวในงานการสื่อสารการตลาดได้เป็นอย่างดี รูปแบบการใช้อารมณ์ขันในการสื่อสารการตลาดผ่านกลยุทธ์ Above The Line สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ รูปแบบอารมณ์ขันด้วยการล้อเลียน เสียดสี และประชดประชัน รูปแบบอารมณ์ขันด้วยภาษา รูปแบบอารมณ์ขันด้วยเนื้อหาของโครงเรื่อง และรูปแบบอารมณ์ขันด้วยลักษณะของตัวละคร รูปแบบอารมณ์ขันที่ถูกใช้มากที่สุด คือ รูปแบบอารมณ์ขันด้วยการล้อเลียน เสียดสี และประชดประชัน เนื่องจากรูปแบบที่ผู้ชมสามารถเข้าใจและเกิดอารมณ์ขันตามได้ง่าย คำสำคัญ : อารมณ์ขัน/การสื่อสารการตลาด/above the line
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/490
Other Identifiers: TP MM.034 2556
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.034 2556.pdf1.03 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.