Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5227
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช (Plant-based Food) ซ้ำของผู้บริโภคกลุ่ม Flexitarian ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: FACTORS INFLUENCING ATTITUDES AND REPEATED PURCHASE INTENTIONAL BEHAVIORS OF PLANT-BASED FOOD OF FLEXITARIAN CONSUMERS IN BANKOK METROPOLITAN AREA
Authors: พรศักดิ์ พูลพล
ชนินทร์ อยู่เพชร
Keywords: การจัดการและกลยุทธ์
ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช
ความพึงพอใจ
ความภักดี
ทัศนคติผู้บริโภค
ตราสินค้า
แรงจูงใจ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: บทงานวิจัยนี้ได้การเน้นไปยังวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการระบุปัจจัยสำคัญมีต่อความพึงพอใจต่อการ ตัดสินใจเลือกซ้ือและเลือกบริโภคอาหาร plant base food ของกลุ่ม Flexitarian ศึกษาปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อความ ภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์ Plant based food ของกลุ่ม Flexitarian และครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช (Plant-based Food) ซ้ำของผู้บริโภคกลุ่ม Flexitarian ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลผ่านช่องทางโซเชียวล คอมเมิร์ซภายในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งหมด 400 คน จากการสุ่มแบบสะดวกได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญเพื่อ ใช้ในการอธิบายลักษณะเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น การใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรถึงความน่าจะเป็นในการทดสอบสมมติฐาน ผลสรุปงานวิจัยปัจจัยที่มีอิทธิพลผลต่อความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภท Flexitarian ซึ่งจากข้อมูลผลการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า ค่า R Square มีค่าเท่ากับ 0.738 ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่าตัวแปรต้นทั้ง 4 ปัจจัย ร้อยละ 73.90 ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภท Flexitarian อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการซื้อซ้ำ ปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับสินค้า ปัจจัยด้าน ทัศนคติผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการสร้างการรับรู้ของตราสินค้า ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีต่อ ผลิตภัณฑ์ โปรตีนจากพืช (Plant-based Food) พบว่า ค่า R Square มีค่าเท่ากับ 0.738 ซ่ึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าตัว แปรต้นทั้ง 3 ปัจจัย สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ โปรตีนจากพืช (Plant-based Food) ร้อยละ 73.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการซื้อซ้ำ การรับรู้แบรนด์สินค้า และปัจจัยด้านทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารประเภท Flexitarian
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5227
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.021 2566.pdf130.19 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.