Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5391
Title: การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการธุรกิจนมที่มีจุดมุ่งหมายการจัดการการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สู่ชั้นบรรยากาศตามมาตรฐานคุณภาพสากลในประเทศไทย
Other Titles: A study of and consumers' perception toward willingness to buy dairy products produced from dairy entrepreneurs under the zero carbon emission goal aligned with the international quality standard in Thailand
Authors: วีรภัทร์ จรัสจิราวัฒน์
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
คาร์บอนเป็นศูนย์
แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การศึกษาเรื่อง "การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการธุรกิจนมที่มีจุดมุ่งหมายการจัดการการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สู่ชั้นบรรยากาศตามมาตรฐานคุณภาพสากลในประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นมที่มีการจัดการการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สู่ชั้นบรรยากาศตามมาตรฐานคุณภาพสากลในประเทศไทย โดยการศึกษาวิจัยนี้ใช้การประยุกต์ของทฤษฎีการพัฒนาทฤษฎีรวม ของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (UTAUT2) นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยโดยการศึกษาวิจัยนี้เลือกเก็บข้อมูล จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการ “ซื้อ” หรือ “ดื่ม” รวมถึงบริโภคผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากนมวัวในประเทศไทย จำนวน 502 คน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS และ AMOS ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าจากการวิเคราะห์ปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจทำให้สามารถจัดกลุ่ม ตัวแปรใหม่ได้ 6 กลุ่มตัวแปรดังนี้ ปัจจัยด้านความคาดหวังในประโยชน์ต่อร่างกาย ปัจจัยด้านความคุ้มค่า ปัจจัยด้านความตั้งในการตัดสินใจซื้อ/บริโภค ปัจจัยด้านความคุ้นเคยในการบริโภคนม ปัจจัยด้านความเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านความตระหนัก ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยใช้เป็นกรอบการวิจัยใหม่ โดยทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM ) ทำการวิเคราะห์โดยผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความคุ้นเคยในการบริโภคนม (Habit) และปัจจัยด้านความตระหนักด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environmental Influence) ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อ/บริโภคผลิตภัณฑ์นมที่มีการจัดการฟาร์มคาร์บอนเป็นศูนย์ (Intention to buy the dairy products produced from zero carbon emission) ของผู้ที่มีที่มีประสบการณ์ในการ “ซื้อ” หรือ “ดื่ม” รวมถึงบริโภคผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากนมวัวในประเทศไทย
Description: 165 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5391
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.039 2566.pdf3.03 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.